แนวทางวิปัสสนากรรมฐาน
ตามแนวทาง พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)
สรุปการกำหนดต่าง ๆ พอสังเขป
ดังนี้
๑. ตาเห็นรูป จะหลับตาหรือลืมตาก็แล้วแต่
ให้ตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า เห็นหนอ ไปเรื่อย ๆ
จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
ถ้าหลับตาอยู่ ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป
๒.
หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงหนอ ไปเรื่อย ๆ
จนกว่าจะรู้สึกว่าเสียง ก็สักแต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
๓.
จมูกได้กลิ่น ตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นหน ไปเรื่อย ๆ
จนกว่าจะรู้สึกว่ากลิ่น ก็สักแต่ว่ากลิ่น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้้
๔.
ลิ้นได้รส ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสหนอ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ารส ก็สักแต่ว่ารส ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
๕.
การถูกต้องสัมผัส ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส กำหนดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
๖.
ใจนึกคิดอารมณ์ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า คิดหนอ ไปเรื่อย ๆ
จนกว่าความนึกคิดจะหายไป
๗.
อาการบางอย่างเกิดขึ้น กำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่า จะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่
กำหนดว่า รู้หนอ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการนั้นจะหายไป
การที่เรากำหนดจิต
และตั้งสติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจิตของเรา อยู่ใต้บังคับของความโลภ ความโกรธ
ความหลง เช่น ตาเห็นรูป ชอบใจ เป็นโลภะ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ
ขาดสติไม่ได้กำหนดเป็นโมหะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส
กายถูกต้องสัมผัสก็เช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น