พระอภิธรรมปิฎก เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน
"พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง"
ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก"
ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ
ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย
คำสอนของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่า "ธรรมวินัย" ทั้งหมด
ยังมิได้แยกเป็นปิฎกสามปิฎก ดังพระพุทธวจนะว่า "ธรรมและวินัยใดที่เราตถาคตแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้ว
ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว"ต่อมาในการสังคายนาครั้งที่สามในศาสนาพุทธ พระธรรมวินัยได้รับการแบ่งแยกออกเป็นปิฎกสามปิฎก
คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
อรรถกาอัตถสาลินี อันเป็นอรรถกาที่อธิบายคัมภีร์สังคณีแห่งพระอภิธรรมปิฎก และอรรถกาธัมมปทัฏฐกถา
อันเป็นอรรถกถาที่อธิบายคัมภีร์ธรรมบทแห่งพระสุตตันตปิฎก ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปเทศน์พระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่
7 หลังจากทรงตรัสรู้
และได้ทรงถ่ายทอดพระอภิธรรมนั้นแก่พระสารีบุตรในเวลาต่อมา
มีผู้สันนิษฐานว่าพระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นของแต่งขึ้นใหม่ โดยมีเหตุผล ได้แก่
1. สำนวนในการเขียนพระอภิธรรมปิฎกเป็น ภาษาหนังสือ แตกต่างจากสำนวนภาษาในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก
2. หลักมหาปเทสให้สาวกเทียบเคียงความถูกต้องกับพระสูตรและพระวินัย
ไม่ปรากฏว่าให้เทียบเคียงกับพระอภิธรรมปิฎกเลย
3. ข้ออ้างเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดาที่ดาวดึงส์
ไม่ปรากฏในพระสูตรและพระวินัย
4. คำว่า อภิธมฺเม ที่ปรากฏในพระสูตรบางแห่งหมายถึง โพธิปักขิยธรรม
5. พระพุทธเจ้าตรัสกับสาวกว่า ธมฺโม จ วินโย จ หมายถึงพระธรรมกับพระวินัยเท่านั้น (ที่ให้เป็นศาสดาแทนต่อไป)
6. ยญฺจ โข ภควตา ชานตา
ปสฺสตา ซึ่งแปลว่า
"พระผู้มีพระภาคเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่" และ วุตฺตญฺเจตํ ภควตา ซึ่งแปลว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ เป็นสำนวนของพระสังคีติกาจารย์
7. นิกายสรวาสติวาทิน
(นิกายอภิธรรม) ถือว่าพระอภิธรรมปิฎกเป็นสาวกภาษิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น